วันเสาร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2554


การอนุรักษ์ป่าไม้




           1.การรักษาป่าต้นน้ำ เป็นหลักการขั้นพื้นฐานแห่งแนวพระราชดำริในการ อนุรักษ์ป่าและสิ่งแวดล้อม คือ เมื่อมีป่าก็จะมีน้ำ มีดินอันอุดม มีความชุ่มชื้นของ อากาศ และเกื้อกูลต่อการดำรงชีวิตของคน ถึงแม้การรักษาป่าต้นน้ำลำธารจะมีวัตถุประสงค์ปลายทางสำคัญอยู่ที่ การ เกื้อกูลการดำรงชีวิตของมนุษย์ และการอยู่ร่วมกันของคนกับป่า แต่ป่าต้นน้ำ คือที่ บริเวณซึ่งพึงรักษาให้อยู่อย่างปลอดภัยจากการรบกวน หรือเสี่ยงต่อความเสียหายใดๆ โดยเฉพาะความเสียหายที่เกิดจากคน
           2.การจัดการเรื่องน้ำและการสร้างความชุ่มชื้นในบริเวณพื้นที่อนุรักษ์
           พระบามสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงให้ความสำคัญต่อการจัดการเรื่องน้ำเป็น อย่างยิ่ง เพราะน้ำเป็นปัจจัยหลักในการรักษาและฟื้นฟูสภาพป่า รวมทั้งการปลูกป่า
           หลักในการสร้างแหล่งเก็บน้ำเพื่ออนุรักษ์ฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมตามแนวพระราช ดำริ ก็คือ การกักเก็บน้ำไว้บนที่สูงให้มากที่สุด แล้วจ่ายปันลดหลั่นลงมาโดยพยายาม เก็บน้ำไว้ในดินให้มากที่สุด ควบคุมและจัดการสภาวะการไหลของน้ำให้สม่ำเสมอ
           สรุปได้ว่า การจัดการทรัพยากรน้ำ ในงานอนุรักษ์ต้นน้ำลำธารและสิ่งแวด ล้อมนั้นก่อประโยชน์ต่อสภาพน้ำคือ ทำให้ปริมาณน้ำดีขึ้น คุณภาพน้ำดีขึ้น และการ ไหลของน้ำดีขึ้น
           
     3.การจ่ายปันน้ำ เมื่อมีแหล่งกักเก็บน้ำแล้วงานต่อเนื่องคือ การจ่ายปันน้ำ เพื่อแผ่ขยายความชุ่มชื้นแก่สิ่งแวดล้อมในพื้นที่ เพื่อการอุปโภค บริโภค และเพื่อการ เพาะปลูก โดยการทำท่อส่งและลำเหมือง ซึ่งพระบามสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเน้น การใช้วัสดุในพื้นที่ที่หาง่ายและประหยัดเป็นหลัก
           การแผ่ขยายพื้นที่จ่ายปันน้ำโดยท่อส่งและลำเหมืองนี้ ยังช่วยทำหน้าที่ "เก็บน้ำไว้ในดิน" ให้ครอบคลุมบริเวณกว้างขวางออกไปด้วย
           4.การรักษาป่าชายเลน นอกจากมีพระราชดำริให้อนุรักษ์พื้นที่ต้นน้ำลำธาร และพื้นที่ป่าบกโดยทั่วไปแล้ว ยังทรงมีสายพระเนตรยาวไกลไปถึงปัญหาที่เกิดขึ้นใน ป่าชายเลนของประเทศอีกด้วย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น